การใช้ Levels ใน Photoshop เพื่อแต่งภาพ - Genius

Genius

เว็บไซต์นี้ทำขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น มิได้ละเมิดลิขสิทธิ์ และสร้างรายได้ แต่อย่างได

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563

การใช้ Levels ใน Photoshop เพื่อแต่งภาพ

การใช้ Levels ใน Photoshop เพื่อแต่งภาพ


หากคุณเป็นมือใหม่ Photoshop หรือไม่เคยใช้เลย มันดูแล้วเป็นโปรแกรมที่ยุ่งยากน่ากลัว มีหลายฟังก์ชั่น แต่คุณไม่จำเป็นต้องรู้มันทั้งหมด บางครั้งรู้แค่เล็กน้อยก็สามารถมาปรับแต่งภาพได้แล้ว และวันนี้จะมาเสนอเครื่องมือที่มีประโยชน์อีกตัวหนึ่ง นั่นก็คือ Levels 
เข้าใจ Histogram คร่าวๆกันก่อน
Histogram แกนด้านล่าง(แกน X) แสดงสีและโทนในภาพ แกนด้านข้าง (แกน Y) แสดงความเข้มของโทน โดยปกติคุณอาจได้ยินหลายคนพูดว่า โทนส่วนใหญ่ควรจะไปอยู่ตรงกลาง มันก็ไม่ถูกซะทีเดียว ถ้าถ่ายดาว โทนส่วนใหญ่จะไปทางด้านมืด หรือถ่ายสินค้าสีดำบนพื้นขาว ก็จะได้โทนที่แยกไปทั้งสองฝั่ง
ภาพ High Key ข้อมูลต่างๆ ในภาพก็จะไปอยู่ฝั่งขวาของ Histogram ก็คือส่วนสว่างซะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนภาพ Low-Key ข้อมูลส่วนใหญ่จะไปฝั่งซ้าย
เริ่มใช้ Levels กันดีกว่า
เพื่อที่จะใช้เครื่องมือ เลเวล คุณสามารถใช้ปุ่มลัด Ctrl + L ในวินโดวส์ Command + L ในแมค หรือจะกดเมนู Image -> Adjustment -> Levels ก็ได้ แม้เป็นเครื่องมือที่ดี แต่มันก็เป็นเครื่องมือที่มีพลังทำลายล้างสูงเช่นกัน อย่าสเพิ่งบันทึกไฟล์จนกว่ามันจะโอเค
ภาพนี้เป็นภาพตัวอย่าง มันค่อนข้างมืด (underexposed ) ดูจาก histogram ข้อมูลจะอยู่ฝั่งซ้าย และตรงกลาง ลองดูใน Levels
Preset
คุณสามารถบันทึกการตั้งค่าของคุณเป็น preset ได้ แล้วนำมาใช้ทีหลังเพื่อความเร็วในการทำงาน หรือเลือกอันที่ Photoshop ให้มา เช่น สว่างขึ้น, เพิ่ม contrast หรือ มีดลง เป็นต้น
Channel
ส่วน Channel เสมารถเลือก RGB หรือ เลือกแยกเป็น Red, Green, Blue ก็ได้ มันจะเปลี่ยน สมดุลของสี(color balance) ในภาพ ซึ่งคุณสามารถใช้มันเพื่อปรับค่า White Balance ได้ หรือสร้างภาพให้มีสีสันตามจินตนาการของคุณ แต่สำหรับตอนนี้เราจะมาใช้แค่ RGB กันก่อน
Input Levels
Output Levels
ปุ่มต่างๆ
สามเหลี่ยม 3 อันด้านล่างกราฟ inputs ที่เห็นตอนนี้คือค่า 0, 1.00, 255 คุณสามารถปรับได้โดยการกดปุ่มสามเหลี่ยมแล้วเลื่อน สามปุ่มนี้มีชื่อด้วยนะ ซ้ายสุดชื่อว่า Black Point หรือจุดดำ ไว้สำหรับควมคุมโทนที่มืดที่สุดในภาพ อันกลางเรียกว่า Mid-Tone Point และขวาสุด คือ White Point ที่คุมโทนสว่างสุด
ถ้าคุณเลื่อนจุดดำไปทางขวา โทนทั้งหมดที่อยู่ด้านซ้ายของตำแหน่งใหม่จะเป็นสีดำ (pure black) และเช่นกันถ้าเลื่อนจุดขาว (white point) ไปทางซ้ายโทนด้านขวาของตำแหน่งใหม่จะเป็นสีขาวแทน และการเลื่อน midpoint หากเลื่อนไปทางซ้ายจะเพิ่ม ความสว่าง (Lighten) ของ Midtone  และทางขวาจะทำให้ Midtone มืดลง
คุณสามารถปรับจุดมืดและสว่างสุดในภาพได้ด้วยการปรับแถบเลื่อนนี้ โดยทั่วไปคุณจะไม่ใช้มันมากเท่ากับ input level
ปุ่ม OK คือปรับค่าตามที่ตั้งไว้ Cancel คือยกเลิกทั้งหมด และมีปุ่ม Auto, Option และที่คล้ายที่หยอดตา สามอันเรียกว่า Eyedropper  ที่สามารถจิ้มเพื่อเลือกจุด​ Black, Mid-Tone, White บนภาพ สมมติอยากทำหลังขาว ก็เลือก eyedropper สีขาว แล้วจิ้มส่วนที่อยากให้ขาวบนภาพ แต่ส่วนอื่นๆจะได้รับผลกระทบไปด้วย ก็อาจต้องมาทำ Layer mask อีกที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น